วิธีการดูสถานีอวกาศนานาชาติด้วยตาเปล่า |
ที่มา : คุณชวลิต รัศมีนิล : E20KEW |
สถานีอวกาศนานาชาติ
(ISS) ที่มองเห็น จะมีขนาดเหมือนดาวขนาดเล็ก
ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ จากฟากฟ้าด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง
โดยไม่มีแสงไฟกระพริบ จากนั้น ก็จะลับหายไป ทุกพื้นที่ทุกตารางนิ้ว
ในประเทศไทยสามารถมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ด้วยตาเปล่า
ไม่จำเป็นต้องใช้กล้องโทรทัศน์ หรือกล้องดูดาวใดๆ ในการสังเกตการณ์
สถานีอวกาศนานาชาติ
หรือ International Space Station ( ISS ) สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ในวันที่ท้องฟ้ามืด และไม่มีเมฆบัง ส่วนใหญ่จะสามารถมองเห็นได้ในช่วงก่อนรุ่ง
และหลัวพระอาทิตย์ตก ไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง
โดยต้องมีการคำนวณวงโคจรที่ค่อนข้างยุ่งยาก
แต่ปัจจุบันมีเวบไซด์ที่สามารถทำการคำนวณดังกล่าวได้
ซึ่งสามารถเลือกจังหวัดที่สนใจ จากนั้น
ระบบจะแจ้งวันที่ เวลา และทิศทางที่สามารถมองเห็นได้ให้ทราบ ได้แก่
http://www.heavens-above.com/selecttown.asp?CountryID=TH&lat=0&lng=0&alt=0&loc=Unspecified&TZ=CET
สำหรับจังหวัดที่สนใจ
จะดูสถานีอวกาศนานาชาติด้วยตาเปล่า
สามารถเข้าไปดูได้ที่เวบไซด์
โดยพิมพ์ชื่อจังหวัดเป็นภาษาอังกฤษของตัวเองลงไปในเวบไซด์
(หากต้องการรายละเอียดการเข้าใช้เวบไซต์ ให้ดูที่ http://www.hs9dmc.com/iss/index.htm ครับ)
ตามรูปภาพตารางด้านบน ก็คือ
การคำนวณตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2005 เวลา 12:00 น.
จนกระทั่งถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2005 เวลา 12:00
น.
สถานที่ทำการคำนวณ คือ
กรุงเทพฯ Bangkok ( 13:7500N, 100.5170E )
โดยใช้เวลาท้องถิ่น
Local Time : คือเวลามาตรฐานสากล GMT + 7
ชั่วโมง
ข้อมูลวงโคจรใช้ข้อมูลของวันที่
21
พฤศจิกายน 2005
จากนั้น
ในตารางด้านล่างจะแสดงเวลาเริ่มต้น
และเวลาสิ้นสุดที่จะมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติได้ โดยที่
DATE คือวันที่
สำหรับ Mag หรือ Magnitude เป็นตัวบ่งระดับความสว่างของดวงดาวบนท้องฟ้า
โดย หากค่าที่แสดงในช่องหมายเลข 1 ( สีเขียว ) น้อยมาก
ก็จะสว่างมาก ตัวอย่างเช่น Mag ที่
-2 จะมีความสว่างมากกว่า
ดาวที่มีค่าสว่าง 1
หากเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน
ก็คือ ดวงอาทิตย์ จะมีค่า Mag คือ -26.7 ดวงจันทร์ในคืนจันทร์เพ็ญ ค่า Mag
คือ -12.7 และดาวศุกร์หรือดาวประจำเมืองมีค่า Mag คือ -4.4
สำหรับช่อง
Starts คือ เวลาที่มองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติ โดยจะแจ้งเป็นเวลาในระบบ 24
ชั่วโมง ส่วนแถบสีแดง Alt ( Altitude ) คือ ระดับความสูงเหนือเส้นขอบฟ้า
หน่วยองศา เมื่อเทียบจากผู้สังเกตการณ์ โดยที่มุม 0 องศาคือ ระดับขอบฟ้า มุม
90 องศา
คือจุดเหนือศรีษะของผู้สังเกตการณ์
Az ( Azimuth ) คือมุมทิศ ซึ่งจะมีทิศเหนือ N (
north ) ทิศตะวันออก E ( east ) ทิศใต้ S ( south ) ทิศตะวันตก W ( west )
และมุมที่แทรกระหว่างทิศดังกล่าว อาทิเช่น NE ( North East )
ตะวันออกเฉียงเหนือ SE ( South East ) ตะวันออกเฉียงใต้ SW
(South West ) ตะวันตกเฉียงใต้ NW ( North West )
ตะวันตกเฉียงเหนือ หรือหากเทียบกับเข็มทิศที่แจ้งเป็นระบบองศา
ก็มีองศาดังต่อไปนี้
N NNE NE ENE E ESE SE SSE S SSW SW WSW W WNW NW NNW |
= = = = = = = = = = = = = = = = |
0 องศา 22.5 องศา 45.0 องศา 67.5 องศา 90.0 องศา 112.5 องศา 135.0 องศา 157.5 องศา 180.0 องศา 202.5 องศา 225.0 องศา 247.5 องศา 270.0 องศา 292.5 องศา 315.0 องศา 337.5 องศา |
Alt (Altitude) คือมุมเงยในการมอง ซึ่งจะวัดจากแนวระนาบ(แนวขนานพื้นโลก) วัดขึ้นไปบนท้องฟ้า ซึ่งมุมนี้จะมากสุดเพียง 90 องศา นั่นก็คือเราแหงนหน้ามองขึ้นไปกลางท้องฟ้าพอดี
ในช่อง Max. Altitude
หมายถึง เวลา และตำแหน่งขณะที่
สถานีอวกาศอยู่สูงจากเส้นขอบฟ้ามากที่สุด
และเป็นจุดที่มีความสว่างมากที่สุดด้วย
โดยปกติมักจะเป็นเวลากึ่งกลางของทั้งหมด
ในช่อง Ends
หมายถึง เวลาที่สิ้นสุดการมองเห็นสถานีอวกาศนานาชาติ
ตัวอย่าง
การใช้ตารางของวันที่ 30 พฤศจิกายน
2005 ในกรอบสีแดง (ดูภาพตารางด้านบนประกอบ)
สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้คือ
สถานีอวกาศ
นานาชาติจะปรากฏให้เห็นตั้งแต่เวลา 05 นาฬิกา 36 นาที 44 วินาที ทางทิศ WSW (
ตะวันตกเฉียงทางใต้เล็กน้อย ) โดยมีมุมเงยขณะที่มองเห็น 16 องศา
จากเส้นขอบฟ้า หลังจากนั้น จะเข้าสู่มุมสูงสุดเส้นขอบฟ้าที่มุม 30 องศา
ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ที่เวลา 05 นาฬิกา 38 นาที 31 วินาที และแสงจางหายไป
ทางทิศเหนือเยื้องทางทิศตะวันออกเฉียงเล็กน้อย ที่มุมสูงจากขอบฟ้า 10 องศา
ที่เวลา 05 นาฬิกา 41 นาที 07
วินาที
Prev
I Next ที่อยู่ด้านบนของตาราง
จะใช้สำหรับสั่งให้เครื่องทำการคำนวณการมองเห็นสถานีอวกาศในรอบสัปดาห์
ก่อนหน้านั้น ( Prev ) หรือรอบถัดไป ( Next )
ขอให้มีความเพลิดเพลิน
กับการชมสถานีอวกาศนานาชาติ
- - - - - - - - - - - สรุปการดูข้อมูลจากตารางอีกครับ (ภาพใหม่) - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลิงค์เว็บสำหรับดูในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย (จังหวัดไหนไม่มีลิ้งค์ ให้ดูจังหวัดใกล้เคียงแทน)
ภาคเหนือ
แม่ฮ่องสอน : http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=19.267&lng=97.933&alt=186&loc=Mae+Hong+Son&TZ=UCTm7&satid=25544
ภาคอีสาน
อุบลราชธานี : http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=15.233&lng=104.863&alt=128&loc=Ubon&TZ=UCTm7&satid=25544
ภาคกลาง
กรุงเทพ ฯ : http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=13.750&lng=100.517&alt=2&loc=Bangkok&TZ=UCTm7&satid=25544
ประจวบคีรีขันธ์ : http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=11.817&lng=99.800&alt=1&loc=Prachuap+Khiri+Khan&TZ=UCTm7&satid=25544
ปราจีนบุรี : http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=14.050&lng=101.367&alt=23&loc=Prachin+Buri&TZ=UCTm7&satid=25544
ภาคตะวันออก
ภาคใต้
นครศรีธรรมราช
: http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=8.433&lng=99.967&alt=10&loc=Nakhon+Si+Thammarat&TZ=UCTm7&satid=25544
สุราษฏร์ธานี
: http://www.heavens-above.com/PassSummary.aspx?
lat=9.100&lng=99.233&alt=2&loc=Surat+Thani&TZ=UCTm7&satid=25544