ท่านเคยเจอบ้างไหมว่าอยู่ ๆ
ลิ้งค์ของท่านหลุดออกจากห้อง
conference ไปเฉยเลย.....? (โดยเฉพาะของผม
บ่อยเสียจนเบื่อเลยล่ะครับ) ปัญหานี้ส่วนใหญ่มาจากการที่ท่านไปตั้งเวลา
RX timeout limit
ในค่าที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง (ส่วนใหญ่เรามักจะใช่ค่า
Default ที่มากับโปรแกรม) แต่หากว่าเราไม่ได้ตั้งเวลาตรงนี้เอาไว้
แล้วเกิดมีสถานี Link
อื่นเค้าคีย์ค้างมาเป็นเวลานาน
ๆ ล่ะ
ผลที่ตามมาก็คือเครื่องวิทยุที่เราใช้เป็นเครื่องลิ้งค์อาจจะพังเสียเป็นแน่แท้...!!!
เอาล่ะซิทีนี้จะเอาอย่างไรดี
ถ้าตั้งค่าเอาไว้ก็กลัวหลุดออกจากห้อง
conference บ่อย
จะไม่ตั้งค่าเอาไว้ก็กลัวเครื่องลิ้งค์พัง....เฮ้อ..!!!
ผมมีทางออกครับ
แต่ทางออกที่ดีนั้นเพื่อน ๆ
ที่เปิดเป็นสถานี Link
จะต้องช่วยปฏิบัติตามทุก Link ด้วยน่ะครับ
ไม่งั้นก็เปล่าประโยชน์
ก่อนอื่นเรามาดูการเซ็ตค่า
timeout limit ที่อยู่ในเมนู Tools ->
Setup แล้วเลือกแถบป้าย Timing ดังภาพ จะมีค่าที่น่าสนใจอยู่ 2 ค่า คือค่า Transmit time limit กับค่า Receiving time limit สองค่านี้สำคัญอย่างไร ค่า Transmit time limit เป็นการกำหนดค่าเวลาในการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณไปในอินเตอร์เน็ต (กรณีสถานี User คือช่วงที่เรากดแป้น space bar และพูดใส่ไมค์ / ในกรณีเป็นสถานีลิ้งค์คือช่วงที่วิทยุเครื่องลิ้งค์รับสัญญาณเสียงเข้ามาจากความถี่ลิ้งค์ ) ส่วนค่า Receiving time limit เป็นการกำหนดค่าเวลาในการที่เครื่องคอมพิวเตอร์รับสัญญาณมาจากอินเตอร์เน็ต (กรณีสถานี User คือช่วงที่มีเสียงของเพื่อนสมาชิก ดังออกทางลำโพง / ในกรณีเป็นสถานีลิ้งค์ คือช่วงที่วิทยุเครื่องลิ้งค์ส่งออกอากาศ ) |
ค่า Transmit time limit จะเป็นค่าเวลาที่เรากำหนดว่าถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เรา TX นานเกินค่าที่ตั้งไว้ (หน่วยเป็นวินาที) ให้ทำการตัดสัญญาณการ TX ออกไป (เช่นกรณีที่เราเปิดสถานี Link เอาไว้ แล้วมีสัญญาณรบกวนเข้ามาทางความถี่ลิ้งค์ เป็นผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์เราส่งสัญญาณรบกวนนั้น ๆ เข้าระบบไปด้วย ผลที่ตามมาคือสถานี Link อื่น ๆ ที่อยู่ในห้อง conferrence เดียวกับเราพลอยได้รับสัญญาณรบกวนนั้นด้วย และหากสัญญาณรบกวนนั้นมีการค้างเป็นเวลานาน ๆ สถานี Link ก็จะส่งสัญญาณรบกวนนั้นออกอากาศ เป็นระยะเวลานาน ๆ ด้วยเช่นกัน ) ลักษณะการตัดสัญญาณออกไปในกรณีนี้ จะเป็นการตัดการ TX ของโปรแกรม echolink เท่านั้น จะไม่ทำให้ท่านหลุดออกจาก conferrence แต่อย่างใด และเมื่อสัญญาณรบกวนนั้นหายไป โปรแกรมก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติ.
ค่า Receiving time limit จะเป็นค่าเวลาที่เรากำหนดว่าถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เรา RX นานเกินค่าที่ตั้งเอาไว้ (หน่วยเป็นวินาที) ให้ทำการตัดสัญญาณการ RX ออกไป (เช่นกรณีที่สถานีใด ๆ ในห้อง conference เค้ามีคีย์ค้างมาโดยไม่ตั้งใจ หรือโดนสัญญาณรบกวน หรือโดน QRM ก็ตาม เป็นเวลานาน ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็จะได้รับสัญญาณนั้น ๆ แล้วส่งออกอากาศเป็นเวลานาน ๆ ด้วย ลองคิดดูเถอะครับว่าถ้าเครื่องวิทยุที่ใช้ทำเครื่อง Link ไม่เจ๋งจริง ก็คงจะแจ๊งไปเลย....! ) ลักษณะการตัดสัญญาณออกไปในกรณีนี้ จะเป็นการตัดการ RX ของโปรแกรม echolink และทำให้ท่านหลุดออกจาก conferences ไปด้วยเลย และเจ้าของลิ้งค์ก็จะต้องทำการ connect เข้าไปในห้อง conference ใหม่อีกครั้ง แล้วถ้าท่านอยู่ไกลเกินจะทำการ reconnect ได้ล่ะจะทำประการใด.
ข้อคิดมีอยู่ว่า ถ้าทุกสถานีลิ้งค์พร้อมใจกันตั้งค่า Transmit time limit ไว้ที่ 180 วินาทีเท่ากันหมด และตั้งค่า Receiving time limit ไว้ที่ 210 วินาที ( หรืออาจเป็นค่าอื่นที่มากกว่าค่า Transmit time limit ) ทีนี้เมื่อมีสถานีใดสถานีหนึ่งใน conference มีคีย์ค้างออกมาในอินเตอร์เน็ต โปรแกรมของสถานีที่คีย์ค้างก็จะตัดเสียงตัวเองออกภายใน 180 วินาที โดยที่สถานี Link อื่น ๆ ที่พลอยได้รับสัญญาณคีย์ค้าง จะไม่โดยตัด RX และไม่หลุดออกจาก conference ด้วยเพราะตั้ง RX time limit ไว้มากว่า TX อยู่ตั้ง 30 วินาที.... |
เห็นไหมล่ะครับ เราช่วยกันได้... เกือบลืมไป.. การตั้งค่าตรงนี้ใช้ได้ในกรณีที่มีสัญญาณรบกวนต่อเนื่อง (แบบคีย์ค้าง) น่ะครับ ไม่สามารถป้องกันอินเตอร์ม๊อด หรือสัญญาณรบกวนแบบสั้น ๆ ได้
" ตราบใดสัญญาณ Echolink ไปถึง เราคุยกันได้ " .