
(๒) ถ้าเราตัดสายนำสัญญาณให้ความยาวเป็นเศษส่วนเลขคี่ของแลมด้า เช่น 1/4 แลมด้า , 3/4 แลมด้า , 5/4 แลมด้า , 7/4 แลมด้า ลักษณะแบบนี้จะทำให้ความต้านทานที่ปลายสายเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้านทานสายอากาศ และความต้านทานสายนำสัญญาณที่เอามาต่อ
ค่าทั้งหมดที่เราต้องทราบมีด้วยกันสามค่าคือ ความต้านทานต้นสาย,
ความต้านทานสายนำสัญญาณ, และความต้านทานปลายสาย ทั้งสามค่านี้เรารู้เพียงสองค่าก็ได้ ส่วนอีกหนึ่งค่าที่เหลือก็จะสามารถใช้สมการเหล่านี้คำนวณออกมา

อันนี้ความต้านทานปลายสาย จะลดลง (เป็นไปตามสมการ)

อันนี้ความต้านทานปลายสาย จะเพิ่มขึ้น (เป็นไปตามสมการ)

โดยสรุปคือ การนำเอาสายนำสัญญาณที่ตัดลงความยาวเป็นเศษส่วนเลขคี่ของแลมด้ามาใช้งาน
@ ถ้าความต้านทานต้นสายมีค่ามากกว่าความต้านทานของสายนำสัญญาณ ค่าความต้านทานที่ปลายสายจะมีค่าลดลง
@ ถ้าความต้านทานต้นสายมีค่าน้อยกว่าความต้านทานของสายนำสัญญาณ ค่าความต้านทานที่ปลายสายจะมีค่าเพิ่มขึ้น
ทีนี้เรามาดูกันว่าความต้านทานของปลายสายเฟสชิ่งที่จะต่อเข้ากับสายนำสัญญาณเข้าเครื่องวิทยุ
มันเป็น 50 โอห์มได้อย่างไร
สายอากาศโฟลเด็ดไดโพล

ปกติสายอากาศโฟลเด็ดไดโพลถ้าลอยอยู่ในอากาศ มันจะมีความต้านทานที่ขั้วประมาณ 300 โอห์ม (ภาพA) ครั้นเมื่อเราเอามาวางลงบนบูมและวางใกล้ๆ เสากลาง จะทำให้ความต้านทานลดลงมาเหลือประมาณ 100 - 120 โอห์ม (ภาพB) (ขึ้นอยู่กับขนาดท่อและระยะห่างต่างๆ) ถ้าจะเอาตัวเลขที่สวยงาม ก็ควรจะเป็น 112.5 โอห์ม (ก็บอกแล้วงัยว่าประมาณเอา)
ทีนี้ถ้าเราเอาโฟลเด็ดไดโพลอันเดียว(ห่วงเดียว) มาต่อเข้ากับเครื่องวิทยุสื่อสารซึ่งมันมีความต้านทาน ณ จุดต่อสายอากาศเป็น 50 โอห์ม จะทำให้เกิดความไม่แมตช์กัน เพราะสายอากาศ 112.5 โอหม์ แต่ความต้านทานเครื่อง 50 โอห์ม ถ้าเราขืนต่อเข้าไปก็จะทำให้ค่า SWR สูงมากจนเป็นผลเสียต่อเครื่องวิทยุ ดังนั้นก่อนที่จะต่อสายอากาศเข้ากับเครื่องวิทยุ
เราต้องทำการปรับค่าความต้านทานของสายอากาศให้ลดลงเป็น 50 โอห์มเสียก่อน ซึ่งมันก็มีหลายวิธี แต่ผมขอใช้วิธีการเอาสายนำสัญญาณมาลดความต้านทานก็แล้วกัน (จะได้เข้ากับหัวข้อที่ตั้งขึ้นมา)

จากภาพจะเห็นว่าเราเอาสายนำสัญญาณ 75 โอห์ม
ที่มีความยาว 3/4 แลมด้า มาต่อจากสายอากาศ 112.5 โอห์ม ทำให้ความต้านทานปลายสายเป็น 50 โอห์ม ซึ่งเท่ากับความต้านทานของเครื่องวิทยุ จากนั้นก็เอาสายนำสัญญาณ 50 โอห์มต่อไปเข้าเครื่องวิทยุสื่อสารใช้งานต่อไป
ทีนี้ถ้าเราจะเอาโฟลเด็ดไดโพลสองอันมาสแต็กกัน ซึ่งการสแต็กกันก็คล้ายกับเราเอาสายอากาศสองอันมาขนานกัน ซึ่งการขนานกันจะทำให้ความต้านทานลดลงไปครึ่งหนึ่ง (ตามหลักการของวงจรขนาน) แต่เนื่องจากเราต้องมีระยะห่างระหว่างห่วงแต่ละห่วงเพื่อให้เกิดเกนขยาย เราจำเป็นต้องเอาสายนำสัญญาณมาต่อจากห่วงโฟลเด็ดไดโพลแต่ล่ะอันก่อน
แล้วจึงเอาปลายสายนำสัญญาณนั้นมาขนานกัน...
ฉะนั้นเราจะต้องปรับระยะห่างต่าง ๆ ของห่วงโฟลเด็ดไดโพลที่ติดตั้งบนบูมและเสากลางให้ได้ความต้านทานเป็น 100 โอห์มเสียก่อน แล้วนำเอาสายนำสัญญาณ 50 โอห์ม หรือ 75 โอห์มก็ได้
ตัดให้ความยาวลงแลมด้าพอดี เอามาต่อจากปลายห่วง (ซึ่งการตัดสายที่ความยาวลงแลมด้านี้จะทำให้ความต้านทานต้นสายกับปลายสายเท่ากัน คือยังคงเป็น 100 โอห์ม) จากนั้นเราก็เอาปลายสายนำสัญญาณทั้งสองเส้นมาต่อขนานกัน ก็จะได้ความต้านทานรวมเป็น 50 โอห์มพอดี
และเพื่อความสะดวกในการนำไปติดตั้งใช้งานเราก็เอาสายนำสัญญาณ 50 โอห์มอีกเส้นหนึ่งที่ตัดความยาวลงแลมด้ามาต่อจากจุดที่เราทำการขนานกัน แล้วเข้าหัว PL259 ไว้ที่ปลายสายเพื่อสำหรับต่อสายนำสัญญาณที่เราลากไปจากเครื่องวิทยุอีกทอดหนึ่ง
 |
เปรียบเทียบกับของน้ากิมใช้ (HS7WFK) ที่โพสในเวบบอร์ด hamsiam

ที่จุดต่อสายเฟสชิ่งทั้งสามเข้าด้วยกัน
 ภาพของน้ากิมใช้ในเวบบอร์ด
 ภาพของน้ากิมใช้ในเวบบอร์ด
 ภาพของน้ากิมใช้ในเวบบอร์ด
|
ส่วนการแมตชิ่งสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 4 สแต็ก... ดูจากภาพนี้เลยครับ
ซึ่งเป็นสูตรที่น้ากิมใช้ (HS7WFK) ใช้ทำสายอากาศ... ลองเอาเครื่องคิดเลขมากดยกกำลังสอง คูณๆ หารๆ กันดูว่าสุดท้ายเหลือ 50 โอห์ม จริงหรือป่าว (สังเกตค่าตัวเลขสีแดงๆ ในภาพ)

ทั้งสองภาพนี้ เป็นสูตรของน้ากิมใช้ (HS7WFK) ที่โพสอยู่ในเวบบอร์ด hamsiam ครับ
แถมโฟลเด็ดไดโพล 8 สแต็ก ความถี่ 144-146 MHz ให้ลองคำนวณความต้านทานเล่นๆ ครับ
(ผมใช้สายเฟสชิ่ง 75
โอห์มทั้งหมด
ยกเว้นสายต่อเข้าเครื่อง)
ผมลองบวกความยาวสายเฟสชิ่งของ
8 สแต็ก ก็ปาข้าไป 25 เมตรกว่าๆ...
น้ากิมใช้แกเลยบอกไว้ก่อนล่วงหน้าว่า
"ไม่ต้องถามสูตร 16
สแต็กเลย"
ผมลองประมาณความยาวสายเฟสชิ่งของ
16 สแต็กดู ไม่น่าจะต่ำกว่า 60
เมตร... แล้วแบบนี้ใช้ยากิไม่ดีกว่าเหรอ??
อันนี้เป็นไอเดียของเพื่อนสมาชิกในเวบบอร์ด
hamsiam ครับ
คือเพื่อนสมาชิกเค้ามีสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล
4 สแต็กอยู่สองชุด
แล้วคิดจะนำมาหันหลังชนกันแล้วแมตช์ให้เป็น
8 สแต็ก
(นั่นแสดงว่าที่ปลายสายของเจ้าโฟลเด็ดไดโพล
4 สแต็กเดิมมีความต้านทานเป็น
50 โอห์มอยู่แล้ว
ดังนั้นก่อนที่จะนำสองชุดมาสแต็กกัน
เราจะต้องปรับความต้านทานจาก
50 โอห์มให้ขึ้นไปเป็น 100
โอห์มก่อน
แล้วจึงนำมาขนานกันเหลือเป็น
50 โอห์มตามเดิม)

อันนี้เป็นสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 6 สเต็ก ความถี่ 144 MHz
คือปกติแล้วไม่ค่อยจะมีใครทำกัน นอกจากน้ากิมใช้ แหล่ะครับ

อันนี้เป็นการแมตช์สายอากาศยากิ
7 อี 4 เบย์
แมตช์แบบ
สองเบย์บน-สองเบย์ล่าง
ใช้สายนำสัญญาณ 50
โอห์มทุกเส้น
อันนี้เป็นสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 2 สเต็ก ความถี่ 78 MHz

อันนี้เป็นสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 2 สเต็ก ความถี่ 245 MHz

อันนี้เป็นสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 4 สเต็ก ความถี่ 245 MHz

อันนี้เป็นสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 6 สเต็ก ความถี่ 245 MHz
คือปกติแล้วไม่ค่อยจะมีใครทำกัน นอกจากน้ากิมใช้ แหล่ะครับ


อันนี้เป็นสายอากาศโฟลเด็ดไดโพล 8 สแต็ก ความถี่ 245 MHz
(ใช้สายเฟสชิ่ง 50 โอห์มทั้งหมด)